|
ทั่วไป |
ชื่อ, สัญลักษณ์, หมายเลข |
คลอรีน, Cl, 17 |
อนุกรมเคมี |
แฮโลเจน |
หมู่, คาบ, บล็อก |
17, 3, p |
ลักษณะ |
เขียวอมเหลือง
 |
มวลอะตอม |
35.453 (2) กรัม/โมล |
การจัดเรียงอิเล็กตรอน |
[Ne] 3s2 3p5 |
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน |
2, 8, 7 |
คุณสมบัติทางกายภาพ |
สถานะ |
ก๊าซ |
จุดหลอมเหลว |
171.6 K (-101.5 °C) |
จุดเดือด |
239.11 K(-34.04 °C) |
ความร้อนของการหลอมเหลว |
(Cl2) 6.406 กิโลจูล/โมล |
ความร้อนของการกลายเป็นไอ |
(Cl2) 20.41 กิโลจูล/โมล |
ความร้อนจำเพาะ |
(25 °C) (Cl2) 33.949 J/(mol·K) |
ความดันไอ
P/Pa |
1 |
10 |
100 |
1 k |
10 k |
100 k |
ที่ T K |
128 |
139 |
153 |
170 |
197 |
239 |
|
คุณสมบัติของอะตอม |
โครงสร้างผลึก |
orthorhombic |
สถานะออกซิเดชัน |
±1, 3, 5, 7 (กรดแก่) |
อิเล็กโตรเนกาติวิตี |
3.16 (พอลิงสเกล) |
พลังงานไอออไนเซชัน (เพิ่มเติม) |
ระดับที่ 1: 1251.2 กิโลจูล/โมล |
ระดับที่ 2: 2298 กิโลจูล/โมล |
ระดับที่ 3: 3822 กิโลจูล/โมล |
รัศมีอะตอม |
100 pm |
รัศมีอะตอม (คำนวณ) |
79 pm |
รัศมีโควาเลนต์ |
99 pm |
รัศมีวานเดอร์วาลส์ |
175 pm |
อื่น ๆ |
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก |
ไม่เป็นแม่เหล็ก |
ความต้านทานไฟฟ้า |
(20 °C) > 10 Ω·m |
การนำความร้อน |
(300 K) 8.9 mW/(m·K) |
ความเร็วเสียง |
(ก๊าซ, 0 °C) 206 m/s |
เลขทะเบียน CAS |
7782-50-5 |
ไอโซโทปที่น่าสนใจ |
|
แหล่งอ้างอิง |
คลอรีน (อังกฤษ: Chlorine) (จากภาษากรีกว่า Chloros แปลว่าสี "เขียวอ่อน") เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 17 และสัญลักษณ์ Cl เป็นแฮโลเจน พบในตารางธาตุ ในกลุ่ม 17 เป็นส่วนของเกลือทะเลและสารประกอบอื่น ๆ ปรากฏมากในธรรมชาติ และจำเป็นต่อสิ่งมีชวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์ด้วย ในรูปของก๊าซ คลอรีนมีสีเขียวอมเหลือง มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ 2.5 เท่า มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และเป็นพิษอย่างร้ายแรง เป็นตัวออกซิไดซ์ ฟอกขาว และฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี
การใช้ประโยชน์
คลอรีนมีประโยชน์ดังนี้
แหล่งที่พบและการผลิต
ในธรรมชาติคลอรีนอยู่ในรูปของ คลอไรด์ไอออน (chloride ion) หรือเป็นรูปของ เกลือ ซึ่งละลายอยู่ในน้ำทะเลประมาณกันว่ามีอยู่ราว 1.9 %ของมวลน้ำทะเลใน มหาสมุทร ความเข้มข้นของ คลอไรด์ไอออน ที่มากกว่าในน้ำทะเลได้แก่น้ำใน ทะเลเดดซี (Dead Sea) และน้ำในเหมืองเกลือใต้ดิน คลอไรด์ไอออนที่พบทั่วไปได้แก่
ในอุตสาหกรรมธาตุคลอรีนผลิตได้โดยปฏิกิริยา อิเล็กไลสิส (electrolysis) โซเดียมคลอไรด์ ที่ละลายในน้ำ กระบวนการนี้เรียกว่า กระบวนการคลอร์อัลคะไล ซึ่งนอกจากได้คลอรีนแล้วยังมีผลพลอยได้ ไฮโดรเจน และ โซเดียมไฮดรอกไซด์ ด้วย, ตาม สมการเคมี ข้างล่างนี้
- 2 NaCl + 2 H2O → Cl2 + H2 + 2 NaOH
สารประกอบคลอรีน
สารประกอบคลอรีนมีดังนี้
- คลอเรต
(Chlorate-ClO3−) ,
- คลอไรต์
(Chlorite-ClO2−) ,
- ไฮโปคลอไรต์
(HypochloriteClO−) ,
- เปอร์คลอเรต
(Perchlorate-ClO4−)
- คลอรามีน
(Chloramine-NH2Cl) ,
- คลอรีนไดออกไซด์
(Chlorine dioxide-ClO2) ,
- กรดคลอริก
(Chloric acid-HClO3) ,
- คลอรีนโมโนฟลูออไรด์
(Chlorine monofluoride-ClF) ,
- คลอรีนไตรฟลูออไรด์
(Chlorine trifluoride-ClF3) ,
- คลอรีนเพนต้าฟลูออไรด์
(Chlorine pentafluoride-ClF5)
- ไดคลอรีนโมนอกไซด์
(Dichlorine monoxide-Cl2O) ,
- ไดคลอรีนเฮปตอกไซด์
(Dichlorine heptoxide-Cl2O7) ,
- กรดไฮโดรคลอริก
(hydrochloric acid-HCl) ,
- กรดเปอร์คลอริก
(Perchloric acid-HClO4) ,